กฎหมาย ก.พ. ออกอะไรบ้าง
วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี หรือเรียกง่ายๆว่า วิชากฎหมาย ก.พ. จะประกอบด้วย 6 เรื่องที่ใช้ในการสอบ
- พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534
- พ.ร.ฎ.วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 2546
- พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539
- ป.อ.2499 (ในส่วนความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ)
- พ.ร.บ.ความรับผิดและการละเมิดของเจ้าหน้าที่
- พ.ร.บ.มาตราฐานทางจริยธรรม 2562
วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี จะมีข้อสอบทั้งหมด 25 ข้อ คะแนนเต็ม 50 คะแนน
โดยเกณฑ์คะแนนที่เป็นเกณฑ์คะแนนที่ผ่าน ตามระดับของวุฒิที่ใช้ในการสมัครสอบ
กรอบแนวข้อสอบวิชากฎหมาย ก.พ.
1. พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534
จะเกี่ยวกับ การบริหารราชการแผ่นดินในส่วนต่างๆ ซึ่งหลักๆจะมี 3 ส่วน คือ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในส่วนต่างๆ รวมถึงอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น นายกรัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ เป็นต้น และใน พ.ร.บ.นี้ ยังรวมไปถึงการรักษาราชการแทนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
แนวคำถามที่พบบ่อย
- ประเภทของการบริหารราชการแผ่นดินมีกี่ส่วน
- เรื่องอำนาจหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง
- เรื่องอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานในส่วนราชการ
- เรื่องการยุบ การโอน จะต้องตราเป็นคำสั่งในลักษณะใด
- ผู้ที่มีหน้าที่ในการเข้ามารักษาราชการแทน
2. พ.ร.ฎ.หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
เป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่มีเป้าหมายในการบริหารและมีแนวทางในการบริหารที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ที่จะได้รับการบริการจากรัฐ นอกจากนี้จะมีเรื่องที่เกี่ยวกับ หลักการทำแผนบริหารราชการแผ่นดิน
การทำแผนนิติบัญญัติ แผนปฏิบัติราชการประจำปี แผนลดรายจ่ายอีกด้วย
รวมถึงการใช้วิธีหรือแนวทางในการเชื่อมโยงข้อมูลของประชน เพื่อตอบสนองความต้องการได้รวดเร็ว
แนวคำถามที่พบบ่อย
- เป้าหมายในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
- แนวทางในการบริหารราชการ
- วิธีหรือขั้นตอนการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดิน
- จำนวนปีในการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินในแต่ละฉบับ
- วิธีหรือช่องทางที่หน่วยราชการใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลของประชาชนในการให้บริการ
3. พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
หลักๆเป็นลักษณะของการ มีข้อพิพาทหรือคดีความ จะเป็นในเรื่องของการพิจารณาคำสั่งทางปกครอง การบังคับคำสั่งทางปกครอง และการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง รวมไปถึงความหมายและสิทธิต่างๆของ “คู่กรณี”
แนวคำถามที่พบบ่อย
- ข้อยกเว้น/บุคคลที่ได้รับยกเว้นในการพิจารณาบังคับทางปกครอง
- สิทธิของคู่กรณี
- วิเคราะห์สถานการณ์จำลองเกี่ยวกับคู่กรณีที่สามารถกระทำได้/กระทำไม่ได้ เพราะเหตุใด
4. ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 (ในส่วนความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ)
นับเป็นเรื่องที่ยากที่สุด เนื่องจากในเรื่องส่วนความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการนั้น มีหลายมาตราและลักษณะความผิดจะมีความใกล้เคียงกัน
ในเรื่องนี้ จะกล่าวถึงความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการในลักษณะความผิดต่างๆ ที่ถือเป็นความผิดเฉพาะในตำแหน่งหน้าที่
แนวคำถามที่พบบ่อย
- ยกตัวอย่างลักษณะความผิด และถามมาตราที่เกี่ยวข้อง
- ยกตัวอย่างสถานการณ์ของผู้กระทำความผิดและถามบทลงโทษ
- วิเคราะห์ว่าเป็นความผิดหรือไม่เป็นความผิดจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ พร้อมบอกเหตุผล
- โทษสูงสุด คือ ความผิดในมาตราอะไร
5. พ.ร.บ.ความรับผิดและการละเมิดของเจ้าหน้าที่
เป็นลักษณะในเรื่องการพิจารณาความผิด ที่เกิดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในหน่วยงานของรัฐ รวมไปถึงเรื่องการฟ้องร้อง สิทธิของการฟ้องร้องของเจ้าหน้าที่ของรัฐและคู่กรณีต่างๆ
แนวคำถามที่พบบ่อย
- ยกตัวอย่างสถานการณ์ แล้วให้วิเคราะห์ว่า มีความผิดอย่างไร
- ยกตัวอย่างสถานการณ์ แล้วให้วิเคราะห์การฟ้องร้องที่สามารถกระทำได้
6. พ.ร.บ.มาตรฐานทางจริยธรรม 2562
จะเป็นเรื่องการรักษามาตรฐานทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ สิ่งที่ควรกระทำและไม่ควรกระทำ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ในเรื่องอำนาจหน้าที่และคุณสมบัติ
แนวคำถามที่พบบ่อย
- ยกตัวอย่างสถานการณ์ แล้วให้ประเมินว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐในข้อใด
ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมได้ถูกต้องเหมาะสม - คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ในเรื่องคุณสมบัติที่จะต้องมี
- อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม
ราคา 555 บาท (จัดส่งฟรี)